ไอ จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหล คันจมูก คันคอ บางรายอาจมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ ไม่ได้กลิ่น ร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีอาการเรื้อรัง อาจกำเริบตลอดทั้งปี หรือเฉพาะช่วยที่อากาศเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสารก่อภูมิแพ้ของแต่ละคน ถึงแม้เป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ก่อเกิดความรำคาญต่อการดำรงชีวิต และในระยะยาวอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
คิดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน
แพ้อากาศเกิดจากฏิกิริยาของเยื่อบุโพรงจมูกที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เมื่อหายใจสูบอากาศที่มีสารก่อภูมิแพ้ผ่านจมูก เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์เลี้ยงในบ้าน เชื้อรา อากาศชื้น อากาศเย็น อากาศร้อน สารอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E/IgE) ในร่างกายจะทำปฎิกิริยากับสารก่อนภูมิแพ้ทำให้เกิดอาการ
หลักการรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อลดปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ แนวการรักษาในปัจจุบันมี 3 ทางคือ
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ สามารถทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ได้ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง (skin test)
- รับประทานยาแก้แพ้และยาพ่นจมูก
- การฉีดวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้
คิดแบบศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีการพูดถึงอาการแพ้อากาศมากว่าสองพันปีมาแล้ว
ด้วยกลไกในร่างกายเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะขับออกด้วยการ ไอ จาม สร้างสารคัดหลั่งเพื่อขับออก ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะที่ชี่พร่อง (ชี่ หมายถึงพลังงานที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายเพื่อป้องกันและรักษา) จะไม่สามารถขจัดสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวได้หมด ร่างกายจึงมีปฏิกิริยาต่อเนื่องเพื่อปกป้องร่างกาย ทำให้มีอาการของภูมิแพ้เรื้อรัง
สาเหตุที่ทำให้ชี่พร่อง แบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยจากภายในเกิดจากร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง สาเหตุ เช่นการใช้งานร่างกายหักโหมเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม การทานอาหารไม่ถูกหลัก ขาดการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยจากภายนอกจากนั้น เกิดจากสารก่อโรคความเย็น(寒) ความชื้น(湿) ลม(风邪)เข้ากระทำอวัยวะภายใน
หลักการรักษาบำรุงชี่ ปรับสมดุลหยินหยางและขจัดความเย็น ความชื้นหรือลมที่เข้ากระทบอวัยวะภายใน
วิธีการรักษา
- ฝังเข็ม ฝังเข็มรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคที่ผ่านการวิจัยรับรองโดย WHO
- ยาสมุนไพร มีทั้งปรุงเป็นยาหยอดจมูก ยาต้ม ยาเม็ด
- นวดกดจุด
- กวาซา
ประสบการณ์การรักษา
การรักษาแพ้อากาศทั้งแผนปัจจุบันและแผนจีนมีจุดเด่นคนละด้าน ยาแผนปัจจุบันรักษาอาการได้เร็ว ส่วนแผนจีนรักษาโดยถอนรากเง้าของโรค จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะใช้ทั้งสองแผนร่วมกัน โดยช่วงแรกใช้ทั้งยาแผนปัจจุบัน ฝังเข็มและยาสมุนไพร ผู้ป่วยจะค่อย ๆ ลดยาแผนปัจจุบัน เมื่อไม่มีอาการแพ้อากาศแล้ว จะหยุดฝังเข็ม และรับประทานยาสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอีกระยะเพื่อไม่ให้โรคกำเริบ ระยะเวลาในการรักษาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ การตอนสนองของร่างกาย ที่สำคัญการดูแลร่างกายของผู้ป่วยเอง ส่วนใหญ่จะเห็นผลภายใน 1 เดือน